วัยทองคืออะไร ?
วัยทอง คือ ผู้หญิงและผู้ชายที่มีวัยอายุในช่วง 40-59 ปี ซึ่งจะอยุ่ในระหว่างวัยเจริญพันธุ์และวัยผู้สูงอายุ ช่วงวัยนี้จะเป็นวัยที่ฮอร์โมนเพศลดน้อยลงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มีโอกาสในการเสี่ยงเรื่องบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน
ผู้ชายสามารถเป็นวัยทองได้หรือไม่ ?
วัยทองในผู้ชายสามารถเกิดขึ้นได้ แต่จะไม่ชัดเจนเท่ากับผู้หญิง โดยในผู้ชายวัยทองเกิดจากการลดลงของฮอร์โมนเพศชาย เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงอายุประมาณ 40-60 ปี
และสาเหตุการเกิดวัยทองในผู้ชาย เกิดมาจากสาเหตุการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียดสะสม หรือมีโรคประจำตัว อย่างโรคเบาหวาน โรคหัวใจ
อาการวัยทองของผู้หญิงและผู้ชายมีความแตกต่างกันอย่างไร ?
อาการวัยทองในผู้หญิงและผู้ชายมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เนื่องจากว่าวัยทองในผู้หญิงจะมีการหยุดทำงานของรังไข่ ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ประจำเดือนหยุดถาวร ส่วนวัยทองในผู้ชายนั้น เกิดจากการลดลงของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งลดลงทีละน้อยและต่อเนื่องตามอายุ โดยไม่มีการหยุดผลิตอย่างฉับพลันเหมือนในผู้หญิง
อาการวัยทองและความเสี่ยงในระยะยาว
- ช่องคลอดแห้ง เกิดจากการอักเสบของช่องคลอด มีอาการแสบและเจ็บในช่องคลอด
- การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทส่วนกลาง การตอบสนองต่อกระตุ้นลดลง การเคลื่อนไหวช้าลง ความทรงจำเสื่อมถอยลง
- โรคหัวใจและโรคหลอดเลือด เมื่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนนั้นช่วยลดไขมันไม่ดีในเลือดได้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะต้องดูแลตนเองโดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทานอาหารที่ประโยชน์ รักษาน้ำหนักตัวให้เปป็นปกติ
- โรคกระดูกพรุน การที่ร่างกายขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนนั้นจะทำให้กระดูกเปราะบาง เนื่องจากมีการสูญเสียความหนาแน่นของกระดูก ส่งผลให้มีความเสี่ยงที่กระดูกจะหักง่ายขึ้น โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง สะโพก และข้อมือ
- ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เนื่องจากเนื้อเยื่อของช่องคลอดและท่อปัสสาวะสูญเสียความยืดหยุ่น บาครั้งมีอาการปัสสาวะบ่อย รวมถึงการเพิ่มโอกาสติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะมากขึ้น
- น้ำหนักเพิ่มขึ้น เนื่องจากระบบเผาผลาญทำงานน้อยลง
การดูแลตัวเองในช่วงวัยทองควรดูแลตัวเองอย่างไร
-
ควรดูแลสุขภาพและร่างกาย
- ด้านอาหารและโภชนาการ
- ด้านการออกกำลังกาย
- ด้านการนอนหลับ
-
การดูแลสุขภาพจิตใจ
- การจัดการกับอารมณ์แปรปรวน
- การทำกิจกรรมผ่อนคลาย
- การฝึกสติและสมาธิ
-
การดุแลสุขภาพฮอรืโมน
- การบำบัดด้วยฮอร์โมน
- สมุนไพรธรรมชาติ
-
การตรวจสุขภาพเป็นประจำ
- ตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก
- ตรวจคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด
- ตรวจคัดกรองมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
-
การมีเครือข่ายสังคม
- ใช้เวลากับครอบครัวและเพื่อน
- เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน เช่น ชมรมออกกำลังกาย หรือกลุ่มงานอดิเรก
ข้อสรุป
วัยทองเป็นช่วงชีวิตที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายของผู้หญิงเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือน อันเนื่องมาจากการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน โดยปกติจะเกิดในช่วงอายุ 45-55 ปี ซึ่งมีผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจ