ฟันคุดมีทั้งหมด 4 ซี่ เป็นฟันซี่สุดท้ายในแต่ละด้านของกระดูกขากรรไกร โดยมักจะเริ่มขึ้นในช่วงอายุประมาณ 17-25 ปี หรือบางคนอาจไม่มีฟันคุด หากฟันซี่นั้นขึ้นมาปกติ ไม่มีอาการใด ๆ ไม่จำเป็นต้องถอนหรือผ่าตัดออก แต่ในกรณีที่งอกผิดปกติ อาจส่งผลให้มีอาการเจ็บปวด และปัญหาในช่องปากตามมา ดังนี้
ปัญหาที่พบ
- ฟันคุดขึ้นไม่ตรง ทำให้ฟันซี่ข้างเคียงได้รับความเสียหาย
- ฟันคุดฝังอยู่ใต้เหงือกหรือกระดูก
- เมื่อฟันคุดขึ้นมาในลักษณะผิดรูป จะทำความสะอาดได้ยาก ส่งผลให้เกิดการอักเสบ และปวดบริเวณรอบ ๆ
- เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ยากต่อการดูแล จึงมักจะเกิดปัญหาฟันผุ การสะสมของแบคทีเรีย และหินปูน
- การงอกของฟันคุดในพื้นที่ที่จำกัด อาจทำให้เบียดฟันซี่อื่น ๆ จนเกิดปัญหาเกี่ยวกับการเรียงตัวของฟัน ฟันซ้อน หรือฟันเก
- ทำให้เกิดถุงน้ำหรือเนื้องอกในกระดูกกราม ที่มีผลต่อฟันและเส้นประสาท
การถอนฟันคุด
เป็นการรักษาทางทันตกรรม มักใช้กับฟันคุดที่เกิดปัญหา เช่น ขึ้นในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง ฟันฝัง หรือฟันคุดที่เป็นสาเหตุของอาการอักเสบ มีขั้นตอนดังนี้
- การประเมิน ทันตแพทย์จะทำการตรวจสอบและประเมินฟันคุด ผ่านภาพเอกซเรย์เพื่อดูตำแหน่งและการขึ้นของฟัน
- การเตรียมความพร้อม ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำต่าง ๆ เช่น การงดอาหาร งดการรับประทานยาบางตัว หรือการเตรียมตัวในกรณีฉุกเฉิน
- การฉีดยาชา ทันตแพทย์จะใช้ยาชาบริเวณที่จะทำการถอนฟัน เพื่อให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวดระหว่างการถอน
- การรักษาแผล หลังจากถอนฟันคุด ทันตแพทย์จะทำการเย็บแผล วางผ้าก๊อซที่ปากแผลให้ผู้ป่วยกัดไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง
- การป้องกันการอักเสบ ทันตแพทย์จ่ายยาปฏิชีวนะ ยาแก้อักเสบ หรือยาแก้ปวด
- การติดตาม เพื่อสังเกตอาการและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
ข้อสรุป
การรับรู้ถึงปัญหาฟันคุดเป็นสิ่งสำคัญ เพราะอาจเป็นที่มาของปัญหาสุขภาพช่องปาก ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการรักษาอาการที่เกิดขึ้น หรือการถอนฟันคุดที่จะต้องเข้าปรึกษากับทันตแพทย์ให้มั่นใจว่าเป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล ที่สำคัญ ควรสังเกตถึงการแตกหัก หรือฟันผุ ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ และตรวจเช็คสุขภาพฟันอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี